การฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นให้กับคนงาน

Basic fire fighting

ฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นให้กับคนงานเพื่อสามารถตอบโต้เหตุไฟไหม้ได้อย่างรวดเร็ว

การฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นให้กับคนงานและตอบโต้เหตุไฟไหม้ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่นายจ้างและหัวหน้างานจะต้องจัดให้พนักงานทุกคนนั้นได้รับการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามที่กฎหมายกำหนด

โดยในหลักสูตรนี้จะมีการเรียนเกี่ยวกับองค์ประกอบของไฟ อันตรายต่างๆที่เกิดจากไฟ รวมทั้งการ ช้อุปกรณ์ตอบโต้ เหตุฉุกเฉินเพลิงไหม้ขั้นต้น พนักงานจะได้เรียนวิธีการใช้ถังดับเพลิงชนิดต่างๆ และการดับไฟประเภทต่างๆ เพื่อเลือกใช้อุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นไฟที่เกิดจากกระดาษ ไฟที่เกิดจากน้ำมันสารเคมี ไฟที่เกิดจากก๊าซ ประเภทของไฟเหล่านี้ควรจะต้องใช้ถังดับเพลิงในการดับเพลิงให้ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดอันตรายกับผู้ดับไฟได้ เช่นกัน

 

Firefighters

 

ประเภทของไฟ

  • เพลิงไหม้ประเภท A (Ordinary Combustibles) เพลิงไหม้ประเภทนี้เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดาที่ติดไฟง่าย เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ขยะ พลาสติก ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่พบได้ในอาคารที่พักอาศัยทั่วไป ซึ่งเพลิงไหม้ประเภทนี้สามารถดับได้ด้วยน้ำเปล่า

 

  • เพลิงไหม้ประเภท B (Flammable Liquids) เป็นเพลิงไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวติดไฟ มีส่วนประกอบพื้นฐานเป็นน้ำมันดิบ น้ำมันก๊าซ น้ำมันเบนซิน และก๊าซไวไฟ เช่น บูเทน (Butane) หรือ โพรเพน (Propane) โดยเชื้อเพลิงเหล่านี้พบได้ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น ไปจนถึงการผลิตสีบางชนิด เชื้อเพลิงประเภท B จะสามารถลุกไหม้ได้นานเมื่อมีออกซิเจนอยู่รอบๆ การดับเพลิงไหม้ประเภทนี้จึงต้องกำจัดออกซิเจนโดยรอบออก

 

  • เพลิงไหม้ประเภท C (Electrical Equipment) เป็นเพลิงไหม้ที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าอยู่ หรืออุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ตลอดเวลาที่ทำงาน เช่น มอเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ตัวแปลงกระแสไฟฟ้า เป็นต้น อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ตลอดเวลาจะทำให้เกิดความร้อนสูง เมื่อมีการชำรุดเสียหายอาจจะก่อให้เกิดเพลิงไหม้ประเภท C ได้ การดับเพลิงไหม้ประเภทนี้ควรต้องตัดระบบไฟฟ้าก่อนทำการดับไฟ

 

  • เพลิงไหม้ประเภท D (Combustible Metals) เพลิงไหม้ประเภทนี้เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นโลหะติดไฟได้ เช่น ไทเทเนียม (Titanium), แมกนีเซียม (Magnesium), อลูมิเนียม (Aluminium) และ โพแทสเซียม (Potassium) เป็นต้น เป็นเชื้อเพลิงที่พบได้ในห้องปฏิบัติการ ห้องทดลอง ไปจนถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานโลหะเหล่านี้ โดยเพลิงไหม้ประเภทนี้ไม่สามารถดับด้วยน้ำเปล่าได้

 

  • เพลิงไหม้ประเภท K (Combustible Cooking) เพลิงไหม้ประเภทนี้เกิดกับเครื่องครัว น้ำมันที่ใช้ในครัว ไขมันสัตว์ ไปจนถึงของเหลวที่ใช้ในการประกอบอาหาร ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่พบได้ในครัวเรือนและร้านอาหาร

ทางดับเพลิงถือเป็นอุปกรณ์ตอบโต้เหตุดับเพลิงขั้นพื้นฐาน ที่นิยมนำมาใช้งานเพราะสามารถดับไฟได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพดังนั้นการเลือกใช้ถังดับเพลิงควรจะต้องทำการตรวจสอบให้แน่ใจว่าถังดับเพลิงชนิดนั้นๆ มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานรับรอง ควรตรวจสอบก่อนซื้อมาใช้งาน และจะต้องทำการบำรุงรักษาตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้อุปกรณ์ของเราพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา

 

Fireman Suit

 

ประเภทของถังดับเพลิง

  1. ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical Extinguishers)
  2. ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย HCFC-123 (Halotron Extinguishers)
  3. ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาโฟม (Foam Extinguishers)
  4. ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide (CO2) Extinguishers)
  5. ถังดับเพลิงชนิดน้ำ (Water Extinguishers)
  6. ถังดับเพลิงชนิด Wet Chemical Class K

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้มีความรู้ และฝึกปฏิบัติในการดับเพลิงได้เหมาะสมกับสถานการณ์
  • เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถมีความชำนาญในเรื่องเทคนิคการดับเพลิงด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อฝึกทักษะในการทำงานเป็นทีมในการวางแผนก่อนเกิดเหตุ การประเมินสถานการณ์ การเข้าควบคุมเพลิงในสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

  • ทีมผจญเพลิงของสถานประกอบการ
  • ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ
  • บุคคลทั่วไปที่สนใจ
  • ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และไม่มีโรคประจำตัว

การฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้น ควรจะต้องทำการฝึกอบรมดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอในทุกๆปี ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานของเรานั้นจะมีความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์และพื้นฐานการดับไฟขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบการการไม่ให้ลุกลามบานปลาย พนักงานในหน่วยงานต่างๆควรจะมีการผ่านการฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นอย่างน้อย 40% ของทุกหน่วยงาน เช่นสิ่งเหล่านี้กฎหมายได้ให้ความสำคัญเพื่อให้นายจ้างไม่ปล่อยปละละเลย